ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
Radio frequency Ablation
ในชีวิตประจำวันที่รีบเร่งของคนในปัจจุบันคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า เราต่างเคยมีประสบการณ์ ในเรื่องของภาวะใจสั่นหรือ รู้สึกว่าหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะกันอยู่บ้าง ซึ่งแต่ละคนอาจจะอธิบายอาการที่ตนเองเป็นอยู่นั้นไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะรู้สึกว่า ใจสั่นเต้นเร็ว บางคนอาจจะบอกว่า ใจเต้นไม่เป็น
จังหวะ บางคนอาจจะบอกว่าหัวใจเหมือนหยุดเต้นเป็นพัก ๆ บางคนบอกว่าหายใจไม่อิ่ม บางคนบากว่าหายใจไม่ทั่วท้อง บางคนบอกว่าหายใจไม่เต็มปอด ซึ่งแล้วแต่ว่าคนนั้นจะจินตนาการอาการของตนเองออกมาในลักษณะไหน ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเหล่านีื้ อาจจะมาจากเหตุเดียวกัน นั่นก็คือ อาการ ใจสั่น หรือ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งสาเหตุนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะจากหัวใจห้องบน หรือหัวใจผิด
จังหวะจากหัวใจห้องล่างก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตรวจเจอ
ในสังคมปัจจุบันเราต้องต้องเจอกับภาวะเครียดจากสังคม สิ่งแวดล้อม และการที่ต้องรีบเร่งในชีวิตประจำวัน การอดหลับอดนอน อาหาร
และเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้มีภาวะใจสั่น ที่หาง่ายและนิยมดื่มกันมากขึ้นทั้ง กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลัง สารเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า ที่มากมาย
หลากหลาย ล้วนแล้วแต่ทำให้มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ทั้งนั้น
ซึ่งสาเหตุของเต้นหัวใจที่ผิดจังหวะนั้นนอกจากสิ่งที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีโรคของระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติบางอย่างที่อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตซ่อนอยู่ได้ และอาจจะแสดงออกมากขึ้นด้วยสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น เช่น โรคไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ โรคการนำไฟฟ้าผิดปกติ การเต้นหัวใจเร็วผิดปกติจากหัวใจห้องล่าง ( Ventricular Tachycardia )
แนวทางการสืบค้นหาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เมื่ออาการเข้าข่ายของโรคไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจ่างกายโดยละเอียดและจะสืบค้นหาโรคโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ถ้ายังไม่พบความผิดปกติ และยังมีอาการหรือยังสงสัยภาวะ การเต้นหัวใจผิดปกติอาจจะติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 24 – 48 ชั่วโมง โดยเครื่องติดตามไฟฟ้าหัวใจที่ติดตัวให้ผู้ป่วยนำกลับบ้าน และบันทึกคลื่นไฟฟ้าห้วใจตลอดเวลาในเครื่องบันทึก ( Holter Monitoring ) และนำกลับมาวิเคราะห์ ถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และระหว่างที่ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจอยู่นั้น จะให้ผู้ป่วยบันทึกถึงอาการและสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยร่วมด้วย เพื่อที่จะได้มาดูช่วงที่มีอาการนั้นว่าคลื่นหัวใจมีความผิดปกติ หรือไม่ อย่างไร
ถ้ายังไม่พบความผิดปกติ และมีข้อบ่งชี้ถึงอาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะการศึกษาถึงไฟฟ้าหัวใจ โดยการใส่สายสวนเข้าไปในห้องหัวใจ และศึกษา เส้นทางการนำไฟฟ้าหัวใจ ( Electro Physiologic Study ) และเพื่อประโยชน์ ในการรักษา โรคไฟฟ้าหัวใจผิดปกติบางอย่าง
บน : การซักประวัติและการตรวจ ร่างกายโดยแพทย์
ล่าง : การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
แนวทางการรักษา ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
แนวทางการรักษาของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ขึ้นอยู่กับโรคที่ตรวจพบ เพราะจุดกำเนิด ขอไฟฟ้าต่างชนิดกัน ทำให้การรักษาไม่เหมือนกัน ดังนั้นการสืบค้นหาสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจึงมีความสำคัญมากแต่แนวทางและหัวใจการรักษาคล้ายกันกล่าวคือ ต้องกำจัด
หรือชลอจุดกำเนิดหรือตัดเส้นทางลัดวงจรนั้นให้หมดไป โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เช่น การช๊อกด้วยไฟฟ้าการจี้ด้วยไฟฟ้า การฝังเครื่องช๊อคไฟฟ้าหัวใจถาวร และการใช้ยาเพื่อควบคุมอัตราการเต้นหัวใจ และสิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ ต้องไม่ให้มีปัจจัย หรือ เหตุกระตุ้นให้ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นกำเริบ
BETA BLOCKER
beta-blockers เป็นยาที่ปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตและชีพขจรลดลง ยานี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่พบ
ร่วมกับชีพขจรเร็ว ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกจากเส้นเลือดหัวใจตีบ และยังป้องกันปวดศีรษะจากไมเกรน ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ atenolol , propranolol ,metoprolol ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่จะมีอาการมือเท้าเย็น ทำให้โรคหอบหืดเป็นมากขึ้น ซึมเศร้า ฝันร้ายอ่อนเพลีย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศยากลุ่มนี้ห้ามให้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติบางชนิดนอกจากนี้ยังต้องระวังในการใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ
อายุรแพทย์โรคหัวใจประจำหน่วยตรวจโรคหัวใจโรงพยาบาลกรุงเทพ ,
อาจารย์พิเศษประจำหน่วยตรวจโรคหัวใจโรงพยาบาลรามาธิบดี.